วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

ความหมายของคำราชาศัพท์


ความหมายของคำราชาศัพท์
         คำราชาศัพท์ คือ คำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง  ๆ คำราชาศัพท์เป็นการกำหนดคำและภาษาที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมอันดีงามของไทย แม้คำราชาศัพท์จะมีโอกาสใช้ในชีวิตน้อย แต่เป็นสิ่งที่แสดงถึงความละเอียดอ่อนของภาษาไทยที่มีคำหลายรูปหลายเสียงในความหมายเดียวกัน และเป็น ลักษณะพิเศษของภาษาไทยโดยเฉพาะ ซึ่งใช้กับบุคคลกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
         1. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
         2. พระบรมวงศานุวงศ์
         3. พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
         4. ขุนนาง ข้าราชการ
         5. สุภาพชน


ยุคสมัยที่มีการใช้ราชาศัพท์

          ยังไม่มีหลักฐานที่ระบุไว้แน่ชัดว่า  ราชาศัพท์  เริ่มมีใช้มาตั้งแต่สมัยไหน  เมื่อใด  แต่มีผู้รู้ได้สันนิษฐานกันไว้ว่าไทยเราได้มีการใช้ราชาศัพท์มาแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์  อันเป็นระยะเริ่มตั้งราชวงศ์สุโขทัยแล้ว  เพียงแต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก  มาเริ่มใช้กันจริงก็ในสมัยของพญาลิไท (พระธรรมราชาที่1) กษัตริย์ที่ 5 แห่งกรุงสุโขทัย   ซึ่งพระองค์ทรงเป็นนักปราชญ์ฉลาดในทางอักษรศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง   หนังสือสำคัญเล่มหนึ่งที่ได้พระราชนิพนธ์ไว้  คือ  เตภูมิกถาหรือไตรภูมิพระร่วง  เป็นมรดกตกทอดมาจนถึงปัจจุบันนี้
คำราชาศัพท์สมัยของพญาลิไทยังมีคำศัพท์ไม่มากนัก  เช่นคำว่า  กุมาร  เสด็จ  บังคม  ปราสาท  พระราชทาน  พระองค์  พระราชโองการ
 พระเจ้าแผ่นดิน  เป็นต้น
            ในตอนปลายกรุงสุโขทัยไทยเราได้รับเอาภาษาต่างประเทศมาใช้กันมากขึ้น   เพราะการติดต่อกันทางการค้า ประกอบกับบรรดานักปราชญ์ ราชบัณฑิต ทั้งหลายต่างพยายามสรรหาถ้อยคำที่ไพเราะมาเพ็ดทูลพระเจ้าแผ่นดิน ทำให้ราชาศัพท์ยิ่งมีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามคำราชาศัพท์ก็ยังไม่แพร่หลายมากนัก ชาวบ้านโดยทั่วไปยังใช้ถ้อยคำพื้น ๆ กันอยู่  การใช้ราชาศัพท์เป็นที่นิยมอยู่ในวงแคบๆภายในราชสำนักและผู้รู้บางท่านเท่านั้น
            เมื่อสิ้นสุดกรุงสุโขทัยเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฎว่าการใช้ราขาศัพท์ จะเป็นที่นิยมกันเป็นพิเศษ   มีการนำเข้าทางภาษามากขึ้นโดยเฉพาะภาษาเขมร  บาลี  และสันสกฤต สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง(พระราชาธิบดีที่๑)  ทรงนิยมภาษาเขมรมาก  หลักฐานที่เห็นได้ชัดคือทรงใช้คำว่า สมเด็จ”  นำหน้าพระนามของพระองค์  บรรดาพระราชบัญญัติ  พระราชกฤษฎีกา และพระราชกำหนดที่โปรดให้ตราขึ้น  ในรัชสมัยของพระองค์นั้นก็เต็มไปด้วยคำราชาศัพท์  สรุปคือการใช้ราชาศัพท์ได้เริ่มมาแต่สมัยสุโขทัยและมีเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

วิธีการใช้คำราชาศัพท์
                ในการใช้ราชาศัพท์  เมื่อเราพูดกับบุคคลผู้หนึ่ง   บุคคลนั้นนอกจากพระภิกษุแล้ว   จะไม่ใช้ราชาศัพท์สำหรับตนเองเลย   เช่น  เราทูลพระบรมวงศ์ว่า ฝ่าพระบาทจะเสด็จไหน” ท่านจะตอบว่า  “ฉัน จะ ไป ที่ โน่น ที่ นี่”  ไม่ ใช่ ตอบ ว่า ฉัน จะ เสด็จ โน่น เสด็จ นี่”  แต่ถ้าเราถามพระภิกษุว่า ท่านจะฉันอาหารแล้วหรือยัง?”  ท่านจะตอบว่า อาตมาฉันอาหารแล้ว” ถามว่า ท่านสรงน้ำหรือยัง?”  ท่านจะตอบว่า อาตมาสรงน้ำแล้ว”  เป็นต้น
                 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ได้ทรงอธิบายไว้ในหนังสือสาสน์สมเด็จว่า  “เจ้าพูดก็ไม่ใช้ราชาศัพท์สำหรับพระองค์เองเช่นจะว่า “ฉันเสวย” “ฉันบรรทม
หามีไม่ย่อมใช้ภาษาที่พูดกันเป็นสามัญว่า  “ฉันกิน”  “ฉันนอน”  แม้พระเจ้าแผ่นดินก็ตรัสเช่นนั้น
จากข้อความเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่าการใช้ราชาศัพท์
           1  .ใช้สำหรับสามัญชนพูดกับพระเจ้าแผ่นดิน  พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์
           2.   พระเจ้าแผ่นดิน  พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์   จะไม่ทรงใช้ราชาศัพท์ยกย่องพระองค์เอง
           3.  พระเจ้าแผ่นดิน  พระราชินีและพระบรมวงศานุวงศ์   จะไม่ทรงกล่าวราชาศัพท์เป็นการยกย่องเจ้านายที่มีฐานันดรศักดิ์ต่ำกว่าพระองค์  หรือยังทรงพระเยาว์   แต่มีข้อยกเว้น 2 ประการ
                3.1   พระมหากษัตริย์จะทรงกล่าวราชาศัพท์แก่พระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงศักดิ์สูงกว่าพระองค์ทางสายโลหิต   อันหมายถึงผู้ที่สูงกว่าพระองค์โดยนับทางญาติ  เช่น  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  พ่อ แม่  ลุง  ป้า  อา  น้า  พี่  เป็นต้น  และพระบรมวงศานุวงศ์เหล่านั้นเป็นเจ้านาย
                3.2  เจ้านายจะทรงกล่าวราชาศัพท์ระหว่างในกรณีที่ผู้กล่าวมีอิสริยยศต่ำกว่าผู้ฟัง
 ผู้กล่าวจะต้องใช้ราชาศัพท์กับผู้ฟัง  เช่น  เจ้านายมีศักดิ์เป็นอา  พูดกับหลาน  ซึ่งเป็นพระเจ้าแผ่นดิน  อัยกีต้องใช้ราชาศัพท์กับหลาน
               สรุปได้ว่า  หลักวิธีการใช้ราชาศัพท์นั้นต้องคำนึงถึงผู้ฟังเป็นสำคัญ  กล่าวคือจะต้องใช้คำให้เหมาะสมกับฐานะของผู้ฟังไม่ว่าผู้พูดจะเป็นใครก็ตามเว้นพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น   ที่ต้องใช้คำสุภาพสำหรับตนเองด้วย

ประโยชน์ของการศึกษาราชาศัพท์
        1.ช่วยให้สามารถใช้ภาษาไทยได้ถูกต้อง  เหมาะสมกับชั้นของบุคคล  ทำให้ไม่มีปัญหาในการสื่อสาร
         2.ได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรมของชาติ  โดยที่ราชาศัพท์เป็นวัฒนธรรมทางภาษา  ที่มีความประณีตนุ่มนวล  และน่าฟัง
        3. ทำให้รู้คำศัพท์มากขึ้น  ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ภาษาไทยที่ดี  ผู้รู้มากย่อมทำให้เกิดความคล่องแคล่วชำนาญ
        4.ช่วยฝึกฝนอบรมจิตใจผู้ศึกษาให้ประณีตในการใช้ภาษาและผลทำให้เป็นคนมีนิสัยสุขุมรอบคอบ  ละเอียดลออ
        5.ช่วยในการศึกษาวรรณคดีให้เข้าใจได้อย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น   เพราะวิชาวรรณคดีใช้ราชาศัพท์มาก
         6.ช่วยส่งเสริมบุคลิกภาพให้กับตนเอง  สามารถเข้าสมาคมกับผู้อื่นได้โดยไม่เคอะเขิน   ไม่เป็นที่เย้ยหยันของบุคคลอื่น  เพราะได้ศึกษาถ้อยคำที่ควรใช้กับบุคคลตามฐานะมาแล้ว
 ที่มาของราชาศัพท์
 ภาษาบาลี
          เข้ามาทางพระพุทธศาสนา  เพราะภาษาบาลีเป็นภาษาที่ใช้จารึกพระไตรปิฎกอันเป็นคัมภีร์สำคัญของพระพุทธศาสนา  ชาวพุทธถือกันทั่วไปว่าภาษาบาลีเป็นภาษาศักดิ์สิทธิ์  ต้องเคารพกราบไหว้   จนอาจกล่าวได้ว่าคำราชาศัพท์ที่มีมาแต่เดิมนั้นมาจากภาษาบาลีมากที่สุด  เช่น  พระรูป  พระราชบิดา  พระอัยกา  พระวักกะ  พระราชอาสน์  เป็นต้น
 ภาษาสันสกฤต
         เป็นภาษาโบราณของอินเดียเช่นเดียวกับภาษาบาลี   ก็เป็นภาษาที่ไทยเรานำมาใช้มาก  โดยเข้ามาทางศาสนาพราหมณ์  อันเป็นศาสนาที่คนไทยนับถือด้วยเช่นกัน(แต่มิใช่เป็นศาสนาหลักของชาติ) ภาษาสันสกฤตเป็นภาษาสูงที่หราหมณ์ใช้ติดต่อกับพระผู้เป็นเจ้า   จึงเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์คู่ควรกับพระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นสมมุติเทพ   ไทยเราจึงนำเอาภาษาสันสกฤตมาใช้เป็นคำราชาศัพท์  เช่น  พระเนตร  พรกรรณ  สวรรคต  เป็นต้น
ภาษาเขมร
           ในสมัยโบราณชาติขอม (เขมรในปัจจุบันนี้) เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่มีอารายธรรม  มีความเจริญสูงสุด
พระเจ้าแผ่นดินของขอมอยู่ในฐานะสมมุติเทพ  ทำให้ยอมรับว่าภาษาขอมนั้นย่อมจะต้องสูงส่งไปด้วย  จึงเกิดมีการเรียนรู้ภาษาขอมกันมากขึ้น   ได้ใช้ในทางคาถาอาคม  นิยมว่าเป็นของอันศักดิ์สิทธิ์   ยกย่องว่าเป็นของสูงเช่นเดียวกันศาสนา  ไทยจึงนำเอาภาษาขอมมาใช้เป็นคำราชาศัพท์เพื่อให้สมเกียรติแก่พระเจ้าแผ่นดิน
 ภาษาไทย
           โดยปกติภาษาไทยจะไม่นำมาใช้เป็นคำราชาศัพท์แต่จะนำมาใช้ได้ต่อเมื่อเอาไปนำหน้าภาษาอื่น  เช่น  มีพระดำรัส   เป็นพระราชโอรส  น้ำจัณฑ์  หรือใช้วิธีปรุงแต่งคำขึ้น  เช่น  พระที่นั่ง 
ช้างทรง  เป็นต้น 

วิธีเปลี่ยนคำนามสามัญให้เป็นคำนามราชาศัพท์

     คำนามราชาศัพท์ที่ใช้กับพระราชาและเจ้านายบางคำก็บัญญัติขึ้นโดยเฉพาะ   เช่น  เครื่อง  ตำหนัก   พลับเพลา  ฯลฯ  บางคำก็ใช้คำนามสามัญแต่มีคำอื่นมาประกอบข้างหลังบ้าง  หลังบาง  เพื่อให้แปลกกว่าคำธรรมดา  ส่วนนามที่ใช้กับบุคคลประเภทอื่นที่จัดอยู่ในคำสุภาพ  จึงไม่มีวิธีเปลี่ยนแปลงผิดกว่าธรรมดานัก
     วิธีเปลี่ยนคำสามัญนามให้เป็นคำนามราชาศัพท์
               1.  ถ้าคำนามสามัญเป็นคำไทยที่ใช้เกี่ยวกับพระราชาในฐานเป็นเครือญาติ  ยวดยานพาหนะ  สถานที่  เป็นต้น  ให้ใช้คำ  ต้นหลวง,  หรือ  พระที่นั่ง  ประกอบข้างหลัง  เช่น  ลูกหลวง  หลานหลวง  เรือหลวง   ช้างหลวง  ม้าหลวง  ศาลหลวง
วังหลวง  สวนหลวง  ช้างตน  ม้าต้น  ฯลฯ
               2.  ถ้าคำนามสามัญเป็นคำไทยที่ใช้เกี่ยวข้องกับเจ้านาย   ให้ใช้คำ  ทรง  หรือ  ที่นั่ง   ประกอบข้างหลัง  เช่น  เครื่องทรง  เสื้อทรง  ผ้าสรง  ม้าสรง  รถทรง  เรือทรง  ช้างที่นั่ง  ม้าที่นั่ง  ฯลฯ
         เฉพาะคำ  รถ  และ  เรือ  ถ้าใช้สำหรับฝ่ายใน  ให้ใช้คำ  พระประเทียบ  ประกอบข้างหลัง  เช่น  รถพระประเทียบ  เรือพระประเทียบ
          หมายเหตุ  คำไทยบางคำใช้คำบาลีและสันสกฤตนำหน้าก็ได้ เช่น  ราชวัง 
               3.  คำนามบางคำเป็นคำที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต  แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือเจ้านาย  เป็นชื่อของอวัยวะ  กิริยาอาการความเป็นไป  ให้ใช้คำ  พระ  นำหน้าบางคำก็ได้  เช่น  พระกร   พระเนตร  พระเกศ  พระหัตถ์  พระเมตตา  พระชะตา  พระอัยกา  พระอัยกี
            หมายเหตุ  คำไทยและคำเขมรบางคำ  จะใช้คำ  พระ  นำหน้าบางก็ได้  เช่น  พระฉาย  พระสาง  พระที่  พระแท่น  พระเต้า  พระอู่  พระสนม  พระขนง  ฯลฯ
               4.  ถ้าคำนามสามัญเป็นคำนามที่มาจากบาลีหรือสันสกฤต  แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาโดยเฉพาะหรือเกี่ยวกับพระราชินีและพระยุพราช  เพื่อแสดงความสำคัญยิ่งกว่ากล่าวแล้วในข้อ 3  ให้ใช้  พระราช  นำหน้า  เช่น  พระราชบิดา  พระราชมารดา  พระราชโอรส  พระราชยาน  พระราชครู  พระราชอาสน์  ฯลฯ
             หมายเหตุ  ตามคำปรกติ  พระราช  ใช้นำหน้าคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น  แต่บางทีก็ใช้นำหน้าคำไทยบางคำด้วย  เช่น  พระราชดำริ  พระราชกำหนด  พระราชอำนาจ  พระราชวัง
               5.  ถ้าคำนามสามัญเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต  แต่นำมาใช้เกี่ยวกับพระราชาหรือพระพุทธเจ้า  เพื่อแสดงพระเกียรติอันยิ่งใหญ่  เป็นคำนามที่แสดงความสำคัญยิ่งกว่ากล่าวในข้อ  4   ให้ใช้คำ  พระบรม  นำหน้า  เช่น  พระบรมวงศานุวงศ์  พระบรมโกศ  พระบรมนามาภิไธย  พระบรมเดชานุภาพ  พระบรมอัฐิ  พระบรมครู  ฯลฯ
             หมายเหตุ  เฉพาะคำ  วัง  ที่ต้องการจะแสดงเกียรติยศอันยิ่งใหญ่เป็นพิเศษ  ท่านใช้คำ  พระบรมมหาราช  เช่น  พระบรมมหาราชวัง
               6.  ถ้าเป็นคำนาม   ซึ่งเป็นชื่อที่ประทับของพระราชาและมีเศวตฉัตร  ให้ใช้คำ  พระที่นั่ง  นำหน้า  เช่น  พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท  พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ฯลฯ
              7.  คำนามสามัญที่ใช้ประกอบข้างหน้าหรือข้างหลังนามราชาศัพท์  เพื่อบอกชนิดหรือรูปลักษณะของนามราชาศัพท์นั้น  ให้ใช้คำธรรมดา  ไม่ต้องให้เป็นคำราชาศัพท์อีก เช่า  พานพระศรี  หีบพระศรี  พระโอสถเส้น  พระโอสถกล้อง  ฯลฯ
               8.  คำนามที่กล่าวถึงเครือญาติ  ถ้าเป็นคำไทย  ให้ใช้คำ  พระเจ้า  นำหน้า เช่น  พระเจ้าปู่  พระเจ้าย่า  พระเจ้าตา  ถ้าเป็นคำบาลีหรือสันสกฤต  ให้ใช้ 
                    
8.1  คำ  พระ  นำหน้า  สำหรับเจ้านาย  เช่น  พระอัยกา  พระชนก พระชนนี  พระอนุชา  ฯลฯ
                    
8.2  คำ  พระราช นำหน้า  สำหรับพระราชา เช่น  พระราชบิดา พระราชมารดา  พระชนนี 
พระราชอนุชา

คำนามราชาศัพท์


คำสามัญ
คำราชาศัพท์
กรรไตร
พระแสงกรรไตร
กรอบหน้า
พระอุณหิส
กระจกส่อง
พระฉาย
กระดูก
พระอัฐิ
กระโถน
บ้วนพระโอษฐ์  (เจ้านาย)
กระบี่
พระแสงกระบี่
ก้น
พระที่นั่ง
กับข้าว
เครื่องคาว
กางเกง
พระสนับเพลา
กำไลเท้า
ทองพระบาท
กระโถนเล็ก
พระสุพรรณศรี
กำไลมือ
ทองพระกร
แก้ม
พระปราง
หมวด ข

ขน
พระโลมา
ขนระหว่างคิ้ว
พระอุณาโลม
ของกิน
เครื่อง
ของว่าง
เครื่องว่าง
ของหวาน
เครื่องหวาน
ขอบตา
ขอบพระเนตร
ข้อเท้า
ข้อพระบาท
ข้อมือ
ข้อพระกร,ข้อพระหัตถ์
ขา
พระเพลา
ขากรรไกร
ต้นพระหนุ
ข้าว
พระกระยาหาร
ขี้แมลงวัน
พระปิลกะ
เข็มขัด
รัดพระองค์
เข่า
พระชานุ
เขี้ยว
พระทาฒะ
แขน(ต้นแขนถึงข้อศอก)
พระพาหา,พระพาหุ
แขน(ข้อศอกถึงข้อมือ)
พระกร
แข้ง
พระขงฆ์
หมวด ค

คนโทน้ำ
พระสุวรรณภิงคาร
คอ
พระศอ
คาง
พระหนุ
คำถาม
พระราชปุชฉา
คำพูด
พระราชดำรัส,พระกระแส(ราชา),ตรัส,รับสั้ง(เจ้านาย)
คำสั่งสอน
พระบรมราโชวาท(ราชา)
พระบรมราชิโนวาท(พระราชินี)
พระโอวาท(เจ้านาย)
คำสั่ง
พระราชโองการ(ราชา)       พระราชโองการ(ยุพราช)
พระบรมราชโองการ(ราชา)  พระราชบัญชา(ยุพราช)
พระเสาวนีย์(ราชินี)            พระบัญชา(เจ้านาย)
พระราชเสาวนีย์(ราชินี)       รับสั่ง(เจ้านาย)
บัญชา(ขุนนางชั้นสูง)
คิ้ว
พระขนง,พระ,พระโขนง,พระภมู
เครื่องลาด
พระบรรจถรณ์
เครื่องหอม
พระสุคนธ์,พระสำอาง
โคนขา(ต้นขา)
พระอุระ
โคนลิ้น(ลิ้นไก่)
มูลพระชิวหา
ไคล
พระเสโท
หมวด จ

จดหมาย
พระราชหัตถเลขา(ราขา),พระสาส์น,สาร(ใช้กับราชาต่างประเทศ),ลายพระหัตถ์(ราชินี,ยุพราช)
จดหมาย
พระมหาสมณสาส์น(พระมหาสมณะจ้า)
พระสมณสาส์น(พระสังฆราช)
ลายพระหัคถ์,พระอักษร(เจ้านาย) ลิขิต(ภิกษุสามเณร)
จมูก
พระนาสา,พระนาสิก
จะงอยบ่า
พระอังสกุฏ
จอกหมาก(พานรูปรี)
พระมังสี
จอนหู
พระกรรเจียก
จุก(ผม)
พระโมลี,พระมาลี
ใจ
พระหทัย,พระหฤทัย,พระกมล
หมวด ช

ช้อน
ฉลองพระหัตถ์ช้อน
ช่องหู
ช่องพระกรรณ
ช่องจมูก
ช่องพระนาสิก
หมวด  ซ

ซ่นเท้า
พระปราษณี
ซองมือ
อุ้งพระหัตถ์
หมวด  ด

ดี
พระปิตตะ
ดวงชะตา
ดวงพระชะตา
หมวด  ต

ตลับเพชร
พระรัตนกรัณฑ์
ตะเกียบ
ฉลองพระหัตถ์ตะเกียบ
ตะโพก
พระโสณี
ตัก
พระเพลา
ตัดสิน
พระราชวินิฉัย(ราชา)
ตา
พระอัยกา
ตาตุ่ม
พระโคปกะ
ตาทวด
พระปัยกา
ตรา
พระราชสัญจกร
ตุ้มหู
พระกุลฑล
เต่า
จิตรจุล
เตียง
พระแท่น
เตียง
พระแท่น
เตียงนอน
พระแท่นบรรทม
ไต
พระวักกะ
หมวด ถ

ถาดน้ำร้อน (น้ำชา)
ถาดพระสุธารสชา
ถุงเท้า
ถุงพระบาท
เถ้ากระดูก
พระอังคาร
หมวด  ท

ท้อง
พระนาภี
ครรภ์
พระอุทร
ที่พักชั่วคราว
พลับเพลา
ที่นอน
พระยี่ภู่ (ราชา)   พระที่ (เจ้านาย)
เท้า
พระบาท
ที่สำหรับนั่ง
พระราชอาสน์
ที่ใส่อาหาร
พระสุพรรณภาชน์(ราชา)
โทรเลข
พระราชโทรเลข (ราชา)
หมวด  น

นม
พระถัน  พระเต้า
น่อง
หลังพระชังฆ์
นัยน์ตา
พระเนตร,พระจักษุ
น้องชาย
พระอนุชา
น้องสาว
พระกนิษฐภคินี
น้าชาย
พระมาตุลา
น้าหญิง
พระสุธารสชา
น้ำชา
พระอัสสุ
น้ำมูก
มูลพระนาสิก
นิ้วก้อย
พระกนิษฐา
นิ้วกลาง
พระมัชฌิมา
นิ้วชี้
พระดรรชนี
นิ้วนาง
พระอนามิกา
นิ้วมือ
พระองคุลี
นิ้วหัวแม่มือ
พระอังคุฐ
เนื้อ
พระมังสา
หมวด  บ

บ่า
พระอังสา
บ้าน
วัง
หมวด  ป

ประตู
พระทวาร
ปอด
พระปัปผาสะ
ปลาช่อน
ปลาหาง
ปลาร้า
ปลามัจฉะ
ปลาสลิด
ปลาใบไม้
ปลาไหล
ปลายาว
ปัสสาวะ
พระบังคนเบา
ปาก
พระโอษฐ์
ป้า (พี่ของพ่อ)
พระปิตุจฉา
ป้า (พี่ของงแม่)
พระมาตุจฉา
ปิ่น
พระจุฑามณี
ปู่
พระอัยกา
ปู่ทวด
พระปัยกา
เปล
พระอังรึง  พระอู่
หมวด  ผ

ผม
พระเกศา
ผัว
พระสวามี
ผ้าเช็ดตัว
ซับพระองค์
ผ้านุ่ง
พระภูษา
ผิวหน้า
พระราศี
ผ้าโผก
พระเวฐิตะ
ผ้าส่าน
พระกัมพล
ผ้าโจงกระเบน
พระภูษาโจง
ผ้าส่านแดง
พระรัตนกัมพล
ผ้าห่ม
ทรงสะพัก
ผ้าห่มนอน
คลุมพระบบรทม
ผ้าอาบ
พระภูษาชุบสรง
หมวด  ฝ

ฝ่าเท้า
ฝ่าพระบาท
ฝ่ามือ
ฝ่าพระหัตถ์
ฝี
พระยอด
ไฝ
พระปิลกะ
หมวด พ

พ่อ
พระบิดา,พระบิดา,พระชนก
พ่อตา
พระสัสสุระ
พ่อผัว
พระสัสสุระ
พานหมาก
พานพระศรี(ราชา),พานหมากเสวย(เจ้านาย)
พี่ชาย
พระเชษฐา,พระเชษฐภาดา
พี่สาว
พระเชษฐภคินี
หมวด ม

ม่าน
พระสูตร,พระวิสูตร
มีดโกน
พระกรรบิด
มีดหมาก
พระกรรบิด
มือ
พระหัตถ์
แม่ผัว
พระสัสสุ
แม่ยาย
พระสัสสุ
เมีย
พระมเหสี(ราชา)
พระชายา(เจ้านาย)
มุ้ง
พระสูตรม,พระวิสูตร
ไม้เกาหลัง
ฉลองได,นารายหัตถ์
ไม้เท้า
ธารพระกร,พระกัตรทัณฑ์
ไม้วา
ธารพระกร
แม่
พระราชชนนี
หมวด   ย

ยากล้อง
พระโอสถกล้อง
ยาแก้โรค
พระโอสถ
ยาถ่าย
พระโอสถประจุ
ยาบุหรี่
พระโอสถมวน
ยาสูบ
พระโอสถเส้น
ยาย
พระอัยยิกา
ยายทวด
พระปัยยิกา
ย่า
พระอัยกี
ย่าทวด
พระปัยยิกา
หมวด  ร

รองเท้า
ฉลองพระบาท
ร่ม
พระกลด
รักแร้
พระกัจฉะ
ระดูหญิง
พระอุหลบ
เรือน
พระที่นั่ง
เรือนพักร้อน
พลับเพลา
โรค
พระโรค
ไรฟัน
ไรพระทนต์
ไรผม
ไรพระเกศา
ไรจุก
ไรพระจุไร
หมวด  ล

ลุง
พระปิตุลา
ลูกชาย
พระราชบุตร
ลูกอัณฑะ
พระอัณฑะ
ลิ้น
พระชิวหา
ลูกเขย
พระราชชามาดา
ลูกสะใภ้
พระสุณิสา
เล็บ
พระนขา
เลือด
พระโลหิต


หมวด  ส

ส้อม
ฉลองพระหัตถ์ส้อม
สร้อยนวม
ฉลองพระศอ
สร้อยอ่อน
พระเกยูร
สะดือ
พระนาภี
สิว
พระอสา
สีข้าง
พระปรัศว์
เสลด
พระเสมหะ
เสื้อ
ฉลองพระองคื
เสื้อชั้นใน
ฉลองพระกรน้อย
ไส้เล็ก
พระอันตคุณ
ไส้ใหญ่
พระอันตะ
หมวด  ห

หนอง
พระบุพโพ
หนวด
พระมัสสุ
หมวก
พระมาลา
หมอนหนุน
พระเขนย
หมอนอิง
พระขนน
หวี
พระสาง
หัว
พระเจ้า
หม้อน้ำ
พระเต้า
หม้อน้ำกรวด
พระเต้าทักษิโนทก
หม้อน้ำเย็น
พระตะพาบ
หน้า
พระพักตร์
หน้าผาก
พระนลาฏ
หมาก
พระศร
หลัง
พระขนอง
หลังตา
หลังพระเนตร
หลังเท้า
หลังพระบาท
หลาน
พระราชนัดดา
หีบหมาก
หีบพระศรี
หู
พระกรรณ
เหล้า
น้ำจัณฑ์
เหงื่อ
พระเสโท
แหวน
พระธำมรงค์
ไหปลาร้า
พระรากขวัญ
หมวด  อ

อก
พระอุระ
อวัยวะที่ลับ
พระอุยหฐาน
อุจจาระ
พระบังคนหนัก





คำราชาศัพท์หมวดเครื่องใช้

เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เครื่องใช้
คำราชาศัพท์
เสื้อ
รองท้า
ของเสวย
ที่นอน
ม่าน, มุ้ง
ถาดน้ำชา
คนโทน้ำ
ผ้าอาบน้ำ
ปืน
เข็มขัด

ประตู
เตียงนอน
ผ้าเช็ดตัว
ฉลองพระองค์
ฉลองพระบาท
เครื่อง
พระยี่ภู่
พระวิสูตร พระสูตร
ถาดพระสุธารส
พระสุวรรณภิงคาร
พระภูษาชุบสรง
พระแสงปืน
รัดพระองค์ , ผ้าชุบสรง , ผ้าสรง พระปั้นเหน่ง
พระทวาร
พระแท่นบรรทม
ซับพระองค์
ผ้าเช็ดหน้า
กระจกส่อง
ข้าว

น้ำกิน
ตุ้มหู
ช้อน
ช้อนส้อม
ปิ่น
ไม้เท้า
หมาก  
น้ำชา
เหล้า
กางเกง
ซับพระพักตร์
พระฉาย
พระกระยาเสวย
( พระมหากษัตริย์ )

พระสุธารส
พระกุณฑลพาน
ฉลองพระหัตถ์
ฉลองพระหัตถ์ส้อม
พระจุฑามณี
ธารพระกร
พานพระศรี
พระสุธารสชา
น้ำจัณฑ์
พระสนับเพลา พระที่ (ราชวงศ์)







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น